TSE ชนะประมูลโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2
อัพเดทล่าสุด: 17 ธ.ค. 2024
55 ผู้เข้าชม
TSE คว้างานใหญ่ส่งท้ายปี 67 ชนะประมูลโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 จำนวน 21 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตเสนอขายรวม 136.1 เมกะวัตต์ ระบุพร้อมเดินหน้าเข้าร่วมประมูลเฟส 3 ในปี 68 พร้อมเดินหน้าทำ M&A-JV ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ โซลาร์ฟาร์ม หวังเพิ่มสัดส่วน Recurring Income ดันผลการดำเนินงานเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น
ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบ ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567 นั้น
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามระเบียบดังกล่าวและได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้กับรัฐบาลตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวนทั้งสิ้น 21 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 136.1 เมกะวัตต์ (165 เมกะวัตต์ติดตั้ง) โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี
สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) เท่ากับ 2.1679 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ตลอดอายุสัญญา มีมูลค่าการลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเฟส 3 ที่จะมีขึ้นในปี 2568 ด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในมือ วางเป้าไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์
"การได้รับคัดเลือกประมูลในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำพลังงานสะอาดของกลุ่มบริษัท อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ (Recurring Income) สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน"
ส่วนปัจจุบัน TSE มีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 41 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 241.86 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว จำนวน 34 โครงการ และโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) อีก 7 โครงการ และเมื่อรวมกับผลการชนะการประมูลในครั้งนี้อีก 136.1 เมกะวัตต์ ส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมดเป็น 377.9 เมกะวัตต์เสนอขาย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทยังคงเดินหน้าการลงทุนในกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการลงทุนแบบเข้าซื้อกิจการ หรือ M&A (Mergers and Acquisitions) ที่จะสามารถรับรู้รายได้และกระแสเงินสดได้ทันที รวมถึงร่วมจับมือกับพันธมิตรธุรกิจในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ทั้งในรูปของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าขยะ โดยจะพิจารณาเลือกลงทุนในโครงการที่มีผลการดำเนินงาน และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงสม่ำเสมอ
ขณะเดียวกัน ยังมีการพัฒนากลุ่มธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) ในรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ เช่น Direct PPA และ ESCO Model PPA ซึ่งเป็นการขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งกับภาครัฐและเอกชนแบบครบวงจร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
****************************
ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบ ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567 นั้น
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามระเบียบดังกล่าวและได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้กับรัฐบาลตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวนทั้งสิ้น 21 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 136.1 เมกะวัตต์ (165 เมกะวัตต์ติดตั้ง) โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี
สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) เท่ากับ 2.1679 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ตลอดอายุสัญญา มีมูลค่าการลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเฟส 3 ที่จะมีขึ้นในปี 2568 ด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในมือ วางเป้าไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์
"การได้รับคัดเลือกประมูลในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำพลังงานสะอาดของกลุ่มบริษัท อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ (Recurring Income) สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน"
ส่วนปัจจุบัน TSE มีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 41 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 241.86 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว จำนวน 34 โครงการ และโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) อีก 7 โครงการ และเมื่อรวมกับผลการชนะการประมูลในครั้งนี้อีก 136.1 เมกะวัตต์ ส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมดเป็น 377.9 เมกะวัตต์เสนอขาย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทยังคงเดินหน้าการลงทุนในกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการลงทุนแบบเข้าซื้อกิจการ หรือ M&A (Mergers and Acquisitions) ที่จะสามารถรับรู้รายได้และกระแสเงินสดได้ทันที รวมถึงร่วมจับมือกับพันธมิตรธุรกิจในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ทั้งในรูปของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าขยะ โดยจะพิจารณาเลือกลงทุนในโครงการที่มีผลการดำเนินงาน และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงสม่ำเสมอ
ขณะเดียวกัน ยังมีการพัฒนากลุ่มธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) ในรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ เช่น Direct PPA และ ESCO Model PPA ซึ่งเป็นการขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งกับภาครัฐและเอกชนแบบครบวงจร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
****************************
บทความที่เกี่ยวข้อง
MEDEZE เดินหน้าขยายฐานธุรกิจ จับมือ IFCG บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจและการลงทุนชั้นนำ ลงนาม MOU ในการขยายฐานตัวแทนจำหน่าย ให้คำปรึกษา พร้อมนำเสนอบริการด้านการจัดเก็บสเต็มเซลล์ เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูงของ IFCG ได้เพิ่มอีกกที่มีตำนวนมากว่า 50,000 ราย
17 ม.ค. 2025
MASTER ย้ำพื้นฐานไม่เปลี่ยน แจงผู้บริหารขายบิ๊กล็อตให้กองทุนต่างประเทศ 4 ราย เพื่อร่วมลงทุนระยะยาว ระบุเพื่อเพิ่ม free float หลังหุ้น MASTER ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ mai เข้ามาเข้าซื้อขายใน SET ยันไม่กระทบแผนการดำเนินธุรกิจ การันตีผลงานงวดไตรมาส 4/67 เติบโตแข็งแกร่ง
17 ม.ค. 2025
COCOCO รุกเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในประเทศฟิลิปปินส์ วางเป้าเสริมความแข็งแกร่งด้านแหล่งวัตถุดิบ โดยเฉพาะ "มะพร้าว" ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ หวังรองรับความต้องการตลาดโลก ระบุความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการสร้างโอกาสใหม่ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภูมิภาค
17 ม.ค. 2025