แชร์

FPI ฐานแน่น ปี 67 โชว์รายได้ 2,628 ล.

อัพเดทล่าสุด: 5 มี.ค. 2025
125 ผู้เข้าชม
FPI ฐานแน่น ผลงานปี 67 โชว์รายได้รวม 2,628.3 ล้านบาท กำไรสุทธิ 276.2 ล้านบาท พร้อมสั่งจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งปีหลังเพิ่มอีก 0.04 บาทต่อหุ้น กำหนดขึ้น XD วันที่ 2 พฤษภาคมนี้ ส่วนแผนงานปีนี้ ตั้งเป้ารายได้เติบ 10% แตะระดับ 3,000 ล้านบาท หลังเดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิต รับออเดอร์ใหม่ โดยเฉพาะจากลูกค้าในอินเดียและไทย ตุน Backlog แน่น 1,000 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ 2 ปี

               นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2567 บริษัทมีรายได้รวม 2,628.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 115.3 ล้านบาท หรือ 4.6% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการส่งออกไปยังตะวันออกกลางที่เพิ่มสูงขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการขายของบริษัทย่อยในต่างประเทศ และมีกำไรสุทธิ 276.2 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 27.28%

               จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานงวดปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.08 บาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567 ในอัตรา 0.04 บาทต่อหุ้น ดังนั้น จึงเหลืองวดดำเนินงานวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 อีก 0.04 บาทต่อหุ้น กำหนดวันขึ้น XD วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งมีกำหนดจัดประชุมในวันที่ 25 เมษายน 2568

               สำหรับแผนงานปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ระดับ 3,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 10% สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากปี 2567 ซึ่งมีการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรใหม่ พร้อมกับปรับปรุงระบบการจัดการภายในทั้งหมด รวมถึงระบบ ERP เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจของบริษัทลูกในประเทศอินเดีย 2 แห่ง มีแนวโน้มเติบโตอย่างโดดเด่น ทั้งบริษัท เอฟพีไอ ออโต้ พาร์ท อินเดีย และบริษัท อาร์บีเอส พลาสติก อินโนเวชั่น จำกัด ที่มีคำสั่งซื้อ OEM จากลูกค้าเข้ามาจำนวนมาก ขณะที่ลูกค้าในประเทศไทยก็มีแนวโน้มการเติบโตในทิศทางที่ดีเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ล่าสุดบริษัทมีงานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ใน 2 ปี

               นอกจากนี้ ในปี 2568 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดการณ์ปริมาณการผลิตรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 1.50 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 2.1% และสำหรับตลาดอะไหล่ทดแทนจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากรถยนต์สะสมทั่วโลกในปี 2567 มียอดสูงถึง 2,140 ล้านคัน ทำให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าไปในตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นและเกาหลี นอกจากนี้ ปัญหาสงครามการค้าจากสหรัฐฯ และจีน จะทำให้ยอดลูกค้าสหรัฐฯ หันมาซื้อสินค้าในประเทศอาเซียนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์กับบริษัทในอนาคต

**********************

บทความที่เกี่ยวข้อง
A5 เตรียมขายหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ย 7.20-7.50%
A5 เสร็จสิ้นกระบวนการยื่นไปลิ่งต่อ ก.ล.ต. เตรียมเปิดขายหุ้นกู้ อายุ 1 ปี 6 เดือน ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2570 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.20-7.50 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ ระบุเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทและบริษัทย่อย คาดกำหนดวันจองซื้อ 5-7 สิงหาคมนี้
4 ก.ค. 2025
COCOCO ผนึกพันธมิตร มุ่งเป้าสู่ Net Zero
COCOCO ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 2 หน่วยงาน นำโดย SCGP ภายใต้โครงการ "เก่าแลกใหม่" มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการ "การวิจัยเพื่อสร้างสมการแอลโลเมตรีในการตรวจวัดมวลชีวภาพของต้นมะพร้าว" เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4 ก.ค. 2025
CFARM ขยายไลน์ธุรกิจสู่ฟาร์มไก่ไข่
CFARM เดินหน้าปรับโครงสร้างรายได้จากธุรกิจไก่เนื้อ สู่การลงทุนในธุรกิจไก่ไข่ มุ่งเสริมฐานรายได้และเสถียรภาพทางธุรกิจในระยะยาว ทุ่มงบลงทุน 119.7 ล้านบาท พัฒนาโครงการฟาร์มไก่ไข่ระบบกรงปิด คาดเริ่มจำหน่ายไข่ไก่เชิงพาณิชย์ไตรมาส 1/69
4 ก.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy