GBS ชี้ช่องลงทุนรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ
อัพเดทล่าสุด: 15 ก.ค. 2025
1 ผู้เข้าชม
GBS มองภาษีทรัมป์ 36% สร้างแรงกดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออก ลุ้นบทสรุปการเจรจาเรื่องภาษีก่อนครบกำหนดบังคับใช้ แนะหันมาลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic Plays เพื่อลดความผันผวน พร้อมให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่ม Healthcare Tourism รับโอกาสไทยยังเติบโตจากธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ วอนภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุน หลังสภาพคล่องของตลาดทุนหด
นายธนพิศาล คูหาเปรมกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (GBS) ประเมินถึงภาพการลงทุนของเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้นที่ได้รับผลกระทบต่อมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำหนดการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าไทย 36% โดยระบุว่า จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมการส่งออกที่ต้องเผชิญแรงกดดันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอาหาร (อาหารทะเล /ผลไม้กระป๋อง และแปรรูป) กลุ่มอัญมณี กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และกลุ่มสิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบทางการค้าและจะส่งผลกระทบต่อความสามารถด้านการแข่งขันอย่างมาก
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุนจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ คงต้องรอบทสรุปของอัตราภาษี ท้ายที่สุดแล้วการเจรจาของรัฐบาลไทย โดยทีมไทยแลนด์ จะมีการเจรจาต่อรองอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังมีเวลาในการเจรจาต่อรองจนกว่าจะครบกำหนดบังคับใช้ วันที่ 1 สิงหาคมนี้
"ตลาดหุ้นไทยในขณะนี้เต็มไปด้วยความผันผวนและความไม่แน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นส่งออกที่เผชิญแรงกดดันอย่างหนัก ดังนั้น มองว่าควรเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับการส่งออก และมองว่า ให้หันมาลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีรายได้ภายในประเทศเป็นหลัก (Domestic Plays) หรือหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจในประเทศ เนื่องจากจะสามารถลดความผันผวนของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้"
อย่างไรก็ตาม มองว่าหุ้นกลุ่มที่เป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย และถือเป็น Safe Play โดยยังคง ให้น้ำหนักการลงทุน ได้แก่ กลุ่ม Healthcare Tourism เนื่องจากประเทศไทยตั้งเป้าในการผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสุขภาพ (Medical Hub) โดยเฉพาะด้านบริการทางการแพทย์ เพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ซึ่งสร้างการเติบโตให้ประเทศไทย
จากสถานการณ์ดังกล่าว ล่าสุดบริษัทมีการวางกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวางกลยุทธ์ด้านการลงทุน บริหารความเสี่ยงเพื่อรักษาสภาพคล่องทางธุรกิจ รักษากระแสเงินสด เนื่องจาก GBS เป็นธุรกิจด้าน Service Industry (อุตสาหกรรมบริการ) จึงต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมกลุ่มนักลงทุน โดยได้พัฒนาการให้บริการใหม่ๆ เข้ามาเสริม Business Unit ในการเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ และเป็นการกระจายความเสี่ยงของพอร์ต เพื่อลดการพึ่งพิงรายได้จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สำหรับในแง่ของการลงทุนนั้น มองว่า สถานการณ์ในปัจจุบันเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยสะสมหุ้น โดยพิจารณาเลือกเก็บหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดี (Dividend Yield) โดยเน้นลงทุนหุ้นที่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องกระแสเงินสด มีเงินหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจที่ดี เนื่องจากมองว่า ด้วยสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนใดที่มีการบริหารต้นทุนความเสี่ยงที่ดี รักษาสภาพคล่องได้ดี ที่สำคัญมีกระแสเงินสดที่ดี และมีการปรับกลยุทธ์ สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี บริษัทจดทะเบียนนั้นเป็นบริษัทที่สามารถนำพาองค์กร และผู้ถือหุ้น ฝ่าวิกฤตนั้นๆ ได้
"ตั้งแต่อยู่ในวงการตลาดทุนมา ยอมรับว่า วิกฤตครั้งนี้ถือว่าเป็นวิกฤตที่ยากที่สุด เนื่องจากยากที่จะเรียกความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนให้กลับมาเชื่อมั่นต่อสภาพการลงทุน โดยจะเห็นได้จากสภาพคล่องของตลาดทุนในขณะนี้หายไปมาก ดังนั้น โดยส่วนตัวมองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้นักลงทุนทั้งคนไทยและต่างชาติ ให้กลับมาลงทุนได้อย่างปกติ ขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลก็ควรเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อพลิกฟื้นวิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพื่อพยุงและขับเคลื่อนการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ โดยเฉพาะผู้บริโภคให้กลับสู่ภาวะปกติ" นายธนพิศาล กล่าว
*********************
นายธนพิศาล คูหาเปรมกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (GBS) ประเมินถึงภาพการลงทุนของเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้นที่ได้รับผลกระทบต่อมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำหนดการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าไทย 36% โดยระบุว่า จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมการส่งออกที่ต้องเผชิญแรงกดดันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอาหาร (อาหารทะเล /ผลไม้กระป๋อง และแปรรูป) กลุ่มอัญมณี กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และกลุ่มสิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบทางการค้าและจะส่งผลกระทบต่อความสามารถด้านการแข่งขันอย่างมาก
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุนจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ คงต้องรอบทสรุปของอัตราภาษี ท้ายที่สุดแล้วการเจรจาของรัฐบาลไทย โดยทีมไทยแลนด์ จะมีการเจรจาต่อรองอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังมีเวลาในการเจรจาต่อรองจนกว่าจะครบกำหนดบังคับใช้ วันที่ 1 สิงหาคมนี้
"ตลาดหุ้นไทยในขณะนี้เต็มไปด้วยความผันผวนและความไม่แน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นส่งออกที่เผชิญแรงกดดันอย่างหนัก ดังนั้น มองว่าควรเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับการส่งออก และมองว่า ให้หันมาลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีรายได้ภายในประเทศเป็นหลัก (Domestic Plays) หรือหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจในประเทศ เนื่องจากจะสามารถลดความผันผวนของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้"
อย่างไรก็ตาม มองว่าหุ้นกลุ่มที่เป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย และถือเป็น Safe Play โดยยังคง ให้น้ำหนักการลงทุน ได้แก่ กลุ่ม Healthcare Tourism เนื่องจากประเทศไทยตั้งเป้าในการผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสุขภาพ (Medical Hub) โดยเฉพาะด้านบริการทางการแพทย์ เพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ซึ่งสร้างการเติบโตให้ประเทศไทย
จากสถานการณ์ดังกล่าว ล่าสุดบริษัทมีการวางกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวางกลยุทธ์ด้านการลงทุน บริหารความเสี่ยงเพื่อรักษาสภาพคล่องทางธุรกิจ รักษากระแสเงินสด เนื่องจาก GBS เป็นธุรกิจด้าน Service Industry (อุตสาหกรรมบริการ) จึงต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมกลุ่มนักลงทุน โดยได้พัฒนาการให้บริการใหม่ๆ เข้ามาเสริม Business Unit ในการเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ และเป็นการกระจายความเสี่ยงของพอร์ต เพื่อลดการพึ่งพิงรายได้จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สำหรับในแง่ของการลงทุนนั้น มองว่า สถานการณ์ในปัจจุบันเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยสะสมหุ้น โดยพิจารณาเลือกเก็บหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดี (Dividend Yield) โดยเน้นลงทุนหุ้นที่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องกระแสเงินสด มีเงินหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจที่ดี เนื่องจากมองว่า ด้วยสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนใดที่มีการบริหารต้นทุนความเสี่ยงที่ดี รักษาสภาพคล่องได้ดี ที่สำคัญมีกระแสเงินสดที่ดี และมีการปรับกลยุทธ์ สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี บริษัทจดทะเบียนนั้นเป็นบริษัทที่สามารถนำพาองค์กร และผู้ถือหุ้น ฝ่าวิกฤตนั้นๆ ได้
"ตั้งแต่อยู่ในวงการตลาดทุนมา ยอมรับว่า วิกฤตครั้งนี้ถือว่าเป็นวิกฤตที่ยากที่สุด เนื่องจากยากที่จะเรียกความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนให้กลับมาเชื่อมั่นต่อสภาพการลงทุน โดยจะเห็นได้จากสภาพคล่องของตลาดทุนในขณะนี้หายไปมาก ดังนั้น โดยส่วนตัวมองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้นักลงทุนทั้งคนไทยและต่างชาติ ให้กลับมาลงทุนได้อย่างปกติ ขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลก็ควรเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อพลิกฟื้นวิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพื่อพยุงและขับเคลื่อนการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ โดยเฉพาะผู้บริโภคให้กลับสู่ภาวะปกติ" นายธนพิศาล กล่าว
*********************
บทความที่เกี่ยวข้อง
CIVIL มุ่งรักษาเสถียรภาพธุรกิจท่ามกลางภาวะผันผวน เผยทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลังเตรียมส่งมอบ 3 โครงการ พร้อมจ่อเซ็นสัญญาใหม่ 4 โครงการ มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท รุกประมูลงานต่อเนื่อง ตั้งเป้าเติม Backlog ทั้งปีที่ 6,000 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์ FAST เสริมความแข็งแกร่งทุกมิติ
14 ก.ค. 2025
MEDEZE ร่วมเจาะลึกอนาคตการแพทย์ระดับโลก ให้ข้อมูลนักวิเคราะห์และนักลงทุนจาก CGSI และ KKPFG ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมกิจการ ฉายภาพรวมธุรกิจ เข้ารับฟังเรื่องการจัดเก็บเซลล์ภูมิคุ้มกัน NK Cell การจัดเก็บสเต็มเซลล์ ทั้งได้เข้าเยี่ยมชมแล็บที่ได้รับรองมาตรฐาน
14 ก.ค. 2025
ORN ประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC ตอกย้ำความมุ่งมั่นต่อต้านการทุจริต ระบุถือเป็นแรงผลักดันให้ ORN มุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างโปร่งใส ปราศจากการทุจริตในทุกรูปแบบ
14 ก.ค. 2025