EPG โชว์กำไรไตรมาส 3 ที่ 168 ล้าน
อัพเดทล่าสุด: 17 ก.พ. 2025
25 ผู้เข้าชม
EPG เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีงวดบัญชี 67/68 มียอดขาย 3,388 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 168 ล้านบาท ลดลง 45.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 23.8% จากไตรมาสก่อน ระบุมีการตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดอยู่ที่ 58 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าลดลง 58.8 % จากยอดขายชะลอตัวและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
รศ.ดร.เฉลียว วิทูรปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์และพลาสติกแปรรูปชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ปีบัญชี 67/68 (ต.ค.-ธ.ค.67) บริษัทมียอดขาย 3,388 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 3,374 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.4% และปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนที่มียอดขาย 3,606 ล้านบาท หรือลดลง 6.0% มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 30.7% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 30-33% และมีกำไรสุทธิที่ 168 ล้านบาท ลดลง 45.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 23.8% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากบริษัทมีการตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ 58 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าลดลง 58.8 % เนื่องจากยอดขายชะลอตัวและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ทั้งธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ สำหรับการดำเนินงานตามกลุ่มธุรกิจ
ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ภายใต้แบรนด์ Aeroflex มียอดขาย 983 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 6.0% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเทศกาลที่มีวันหยุดยาว ส่วนยอดขายในสหรัฐฯ ยังคงเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการสินค้าฉนวนกันความร้อน/เย็น เกรดพรีเมี่ยม และสินค้าเพื่อใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม Ultra Low Temperature Insulation และ ระบบ Air Ducting system ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกค้าโครงการ ได้แก่ กลุ่ม Semi-Conductor/ Cloud/ และยานยนต์ เป็นต้น อีกทั้งยอดขายในญี่ปุ่นเติบโตดี
ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ Aeroklas มียอดขาย 1,709 ล้านบาท ลดลง 0.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 11.6% จากไตรมาสก่อน โดยหลังคาครอบกระบะ (Canopy) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งคำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากค่ายยานยนต์ญี่ปุ่น ซึ่งจะรับรู้รายได้เต็มปีในปีบัญชีนี้ ส่วนธุรกิจในออสเตรเลียมียอดขายปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเทศกาลที่มีวันหยุดยาว
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ภายใต้แบรนด์ EPP มียอดขาย 696 ล้านบาท ลดลง 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 11.2% จากไตรมาสก่อน โดยบริษัทได้รับประโยชน์จากกิจกรรมเฉลิมฉลองช่วงปลายปี 2567 ที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง บริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค จำกัด ได้ใช้จุดเด่นจากมาตรฐานต่างๆ เช่น มอก./ GMP/ HACCP/ BRC และ FSC จึงเป็นที่ไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมเลือกให้เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ทั้งนี้ บริษัทมีต้นทุนขายสินค้า เพิ่มขึ้น 4.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของยอดขาย บริษัทได้จัดหาวัตถุดิบจากแหล่งผลิตในหลายประเทศเพื่อให้ต้นทุนเฉลี่ยจากราคาวัตถุดิบมีราคาเหมาะสม สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 6.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายในการจัดส่งของแอร์โรเฟลกซ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารของบริษัท ทีเจเอ็ม เอเชีย แปซิฟิก จำกัด ในประเทศไทย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจากธุรกิจในออสเตรเลีย ที่เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ไตรมาสนี้บริษัทมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 48 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 68 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 92 ล้านบาท และเป็นขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง 140 ล้านบาท จากภาพรวมความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาสนี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ออสเตรเลีย จึงมีผลกระทบรวมที่เป็นบวกเล็กน้อยต่อการดำเนินงานของบริษัท
บริษัทมีการตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ 58 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากรายการลูกหนี้การค้าของบริษัท แอร์โรคลาส จำกัด ซึ่งจำหน่ายวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตสินค้าให้แก่ธุรกิจร่วมทุนในแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อสำคัญจากค่ายยานยนต์รายใหญ่ในมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การแก้ไขปัญหาอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับ Supply chain ทั้งหมด โดยผลการเจรจาคืบหน้าไปด้วยดี เป็นผลให้ในไตรมาสนี้บริษัทร่วมทุนมีเงินสดรับเพิ่มขึ้นและทยอยชำระหนี้ให้บริษัท แอร์โรคลาส จำกัดแล้ว คาดว่าในไตรมาสถัดไปจะได้รับชำระหนี้อีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่ 42 ล้านบาท มาจากผลประกอบการของ ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ ทั้งในและต่างประเทศ
**************************
รศ.ดร.เฉลียว วิทูรปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์และพลาสติกแปรรูปชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ปีบัญชี 67/68 (ต.ค.-ธ.ค.67) บริษัทมียอดขาย 3,388 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 3,374 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.4% และปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนที่มียอดขาย 3,606 ล้านบาท หรือลดลง 6.0% มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 30.7% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 30-33% และมีกำไรสุทธิที่ 168 ล้านบาท ลดลง 45.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 23.8% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากบริษัทมีการตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ 58 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าลดลง 58.8 % เนื่องจากยอดขายชะลอตัวและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ทั้งธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ สำหรับการดำเนินงานตามกลุ่มธุรกิจ
ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ภายใต้แบรนด์ Aeroflex มียอดขาย 983 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 6.0% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเทศกาลที่มีวันหยุดยาว ส่วนยอดขายในสหรัฐฯ ยังคงเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการสินค้าฉนวนกันความร้อน/เย็น เกรดพรีเมี่ยม และสินค้าเพื่อใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม Ultra Low Temperature Insulation และ ระบบ Air Ducting system ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกค้าโครงการ ได้แก่ กลุ่ม Semi-Conductor/ Cloud/ และยานยนต์ เป็นต้น อีกทั้งยอดขายในญี่ปุ่นเติบโตดี
ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ Aeroklas มียอดขาย 1,709 ล้านบาท ลดลง 0.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 11.6% จากไตรมาสก่อน โดยหลังคาครอบกระบะ (Canopy) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งคำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากค่ายยานยนต์ญี่ปุ่น ซึ่งจะรับรู้รายได้เต็มปีในปีบัญชีนี้ ส่วนธุรกิจในออสเตรเลียมียอดขายปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเทศกาลที่มีวันหยุดยาว
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ภายใต้แบรนด์ EPP มียอดขาย 696 ล้านบาท ลดลง 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 11.2% จากไตรมาสก่อน โดยบริษัทได้รับประโยชน์จากกิจกรรมเฉลิมฉลองช่วงปลายปี 2567 ที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง บริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค จำกัด ได้ใช้จุดเด่นจากมาตรฐานต่างๆ เช่น มอก./ GMP/ HACCP/ BRC และ FSC จึงเป็นที่ไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมเลือกให้เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ทั้งนี้ บริษัทมีต้นทุนขายสินค้า เพิ่มขึ้น 4.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของยอดขาย บริษัทได้จัดหาวัตถุดิบจากแหล่งผลิตในหลายประเทศเพื่อให้ต้นทุนเฉลี่ยจากราคาวัตถุดิบมีราคาเหมาะสม สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 6.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายในการจัดส่งของแอร์โรเฟลกซ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารของบริษัท ทีเจเอ็ม เอเชีย แปซิฟิก จำกัด ในประเทศไทย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจากธุรกิจในออสเตรเลีย ที่เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ไตรมาสนี้บริษัทมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 48 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 68 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 92 ล้านบาท และเป็นขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง 140 ล้านบาท จากภาพรวมความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาสนี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ออสเตรเลีย จึงมีผลกระทบรวมที่เป็นบวกเล็กน้อยต่อการดำเนินงานของบริษัท
บริษัทมีการตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ 58 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากรายการลูกหนี้การค้าของบริษัท แอร์โรคลาส จำกัด ซึ่งจำหน่ายวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตสินค้าให้แก่ธุรกิจร่วมทุนในแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อสำคัญจากค่ายยานยนต์รายใหญ่ในมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การแก้ไขปัญหาอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับ Supply chain ทั้งหมด โดยผลการเจรจาคืบหน้าไปด้วยดี เป็นผลให้ในไตรมาสนี้บริษัทร่วมทุนมีเงินสดรับเพิ่มขึ้นและทยอยชำระหนี้ให้บริษัท แอร์โรคลาส จำกัดแล้ว คาดว่าในไตรมาสถัดไปจะได้รับชำระหนี้อีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่ 42 ล้านบาท มาจากผลประกอบการของ ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ ทั้งในและต่างประเทศ
**************************
บทความที่เกี่ยวข้อง
MEDEZE ประกาศแผนงานปี 2568 เตรียมสร้างธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดแห่งใหม่ รองรับความต้องการขยายตัว หลังภาครัฐผลักดัน Stem Cell สู่กลุ่มนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตามความต้องการของตลาด Stem Cell ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้ารายได้ทำ New High ทะลุ 1,000 ล้าน
17 มี.ค. 2025
SNPS เตรียมจัดประชุมผู้ถือหุ้นขออนุมัติการจ่ายเงินปันผลงวดปี 2567 ในอัตรา 0.13 บาทต่อหุ้น กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 21 มีนาคมนี้ หลังทำผลงานโตทะลุเป้า พร้อมพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ครบกําหนดออกจากตําแหน่งตามวาระ
13 มี.ค. 2025
GBX เปิดเกมรุกปี 2568 ตั้งเป้าการเติบโตทางธุรกิจ 10% เล็งขยายธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง เพิ่ม AUM แตะ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้ง DRx และ Structured Note รองรับนักลงทุนทุกกลุ่ม รวมถึงศึกษาแนวทางพัฒนา Gold Link Note เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนในอนาคต
13 มี.ค. 2025